วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 เรียนชดเชย


เก็บตกนักศึกษาที่ยังไม่ได้สาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์


หน่วยอาหารหลัก 5 หมู่




หน่วยสัตว์น่ารัก





หน่วยผักสดสะอาด





หน่วยยานพาหนะ





หน่วยผักสดสะอาด






หน่วยกลางวันกลางคืน



การนำไปใช้
เป็นแนวทางในด้านการสอน รวมถึงเทคนิควิธีการต่างๆ ยังสามารถนำเอา ข้อแนะนำ เทคนิคในการสอนที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในการสอนให้มีประสิทธิภาพและดียิ่งขึ้น

เทคนิคการสอน
- การใช้คำถาม
- การอธิบาย

ประเมินอาจารย์
 เข้าสอนตรงเวลา ให้เทคนิคในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้ละเอียดชัดเจน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมากขึ้น ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถาม

วันที่ 24 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


หน่วยกลางวัน กลางคืน (วันอังคาร)
คอมเม้นจากอาจารย์
-ชาร์ตเพลงไม่มีสีสัน ตัวหนังสือติดกันเกินไป
-การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งเก้าอี้เล็กในการเล่านิทาน
-ถ้าไม่ถามเนื้อหาในเพลงก็ถือว่าเอาแผ่นชาร์ตเพลงมาไร้ประโยชน์
-ควรถามประสบการณ์เดิมของเด็กก่อน





หน่วยยานพาหนะ  (วันอังคาร)
คอมเม้นจากอาจารย์
สังเกตจากภาพต้องดูที่ภาพ ไม่อุปโลกไปที่อื่น เขียนตัวหนังสือให้ดีๆและต้องสวยหัวกลมตัวเหลี่ยม






หน่วยยานพาหนะ   (วันพุธ)
คอมเม้นจากอาจารย์
ต้องชี้จากขวาไปซ้าย ทำแม็ปต้องโยงเส้น เขียนลายมือให้สวย เพลงถ้ามีภาพประกอบด้วยจะดี




หน่วยครอบครัวของฉัน (วันพุธ)



หน่วยครอบครัวของฉัน (วันพฤหัสบดี)




หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
คอมเม้นจากอาจารย์
ไม่ควรสอนคำคล้องจองติดต่อกันหลายวัน สื่อไม่แข็งแรงและไม่ได้มาตรฐาน




การนำไปใช้
สามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆที่ได้จากการสอนและการคอมเม้นต์จากอาจารย์มาปรับใช้กับตนเองและนำไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง เตรียมตัว อุปกรณ์ในการมาสอนเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเตรียมความพร้อม อุปกรณ์ในการจะมาสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังให้ความรู้เพิ่มเติม มีเพื่อนบางคนมาเรียนสาย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม ให้ความรู้เพิ่มเติมสอดแทรกตลอดการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและถูกต้อง

ประเมินห้องเรียน
  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา บรรยากศเหมาะกับการเรียน









วันที่ 20 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 เรียนชดเชย

เพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์


หน่วยอาหารดีมีประโยชน์



หน่วยข้าว




หน่วยผักสดสะอาด




การนำไปใช้
สามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆที่ได้จากการสอนและการคอมเม้นต์จากอาจารย์มาปรับใช้กับตนเองและนำไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง เตรียมตัว อุปกรณืในการมาสอนเป้นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเตรียมความพร้อม อุปกรณ์ในการจะมาสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังให้ความรู้เพิ่มเติม มีเพื่อนบางคนมาเรียนสาย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม ให้ความรู้เพิ่มเติมสอดแทรกตลอดการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและถูกต้อง

ประเมินห้องเรียน
  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา



วันที่ 27 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8






การนำไปใช้
สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการสอนและการคอมเม้นต์จากอาจารย์มาปรับใช้กับตนเองและนำไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
 แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนไม่พูดคุยกันเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ เตรียมความพร้อม อุปกรณ์ในการจะมาสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังให้ความรู้เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเหมาะสม ให้ความรู้เพิ่มเติมสอดแทรกตลอดการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและถูกต้อง

ประเมินห้องเรียน
  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  อากาศเหมาะสมกับการเรียน มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

วันที่ 13 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

นิทานเรื่องกับดักหนู












นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คราวหน้า หากคุณรู้ว่าใครสักคน กำลังเผชิญปัญหาและคิดว่าไม่เกี่ยวกับคุณสักหน่อย
จำไว้นะว่า เมื่อพวกเราคนใดคนหนึ่งถูกคุกคาม เราทุกคนต่างตกอยู่ในอันตราย!
เพราะทุกคนล้วนเกี่ยวพันกันอยู่ในการเดินทางที่เรียกว่า ‘ชีวิต’
เราต้องคอยเฝ้าดูแลกันและกัน และพยายามให้กำลังใจอีกคนเข้าไว้


การสอนโปรเจ็คสามารถนำไปสอนต่อปัญญาทั้ง 8 ด้านได้
ปัญญาทั้ง 8 ด้าน (พหุปัญญา)

1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ 

2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ 

3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง

4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส 

5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง 

6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน 

7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข

8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ 

เรื่องที่จะสอนต้องดูด้วยว่า

-สอดคล้องกับตัวเด็กไหม
-ผู้ปกครองมีส่วนร่วมไหม
-ดูสิ่งแวดล้อม

ระยะแรก  ตอนสุดท้ายของระยะเตรียมการ คือ การตั้งประเด็นคำถาม
-เพื่อจะเอามาออกแบบกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
-เพื่อให้เด็กรู้คำตอบ
-ครูต้องให้เด็กมีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมทุกครั้ง


ระยะที่สอง  ระยะพัฒนา
-หาวิทยากร
-สานสัมพันธ์กับผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
-กิจกรรมโปรเจ็คไม่ใช่แค่เด็กเรียนแต่ในห้องเรียนแต่เด็กต้องเรียนนอกห้องเรียนด้วย
จัดระบบ
เริ่มต้นทำอะไรบ้าง
ระยะสรุปทำอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ครูคือผู้อำนวยความสะดวกไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้

-ในโปรเจ็คต้องมีกราฟฟิกเข้าไปสอดแทรก

สาธิตการสอนเสริมประสบการณ์

ขั้นนำ - ใช้คำคล้องจอง    
           -  ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก  แล้วบันทึกลงแผ่นชาร์จ

ขั้นสอน  - นำสิ่งของใส่ตะกร้า โดยใช้คำถามให้เด็กทายว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้าง
               -  หยิบสิ่งของทีละชิ้นพร้อมบอกชื่อและนับจำนวน ติดตัวเลขกำกับไว้สิ่งของชิ้นสุดท้าย
               -  ครูและเด็กแยกเกณฑ์และนับจำนวนว่าอันไหนมากกว่าหรือน้อยกว่ากัน

ขั้นสรุป  - ทบทวนอีกครั้งว่าสิ่งของอันไหนมากกว่าและน้อยกว่ากัน




การนำไปใช้
สามารถนำข้อคิดจากนิทานมาปรับใช้กับตัวเองเปลี่ยนแปลงมุมมองที่ใหม่และกว้างขึ้นกว่าเดิมนำเทคนิคการสอนเสริมประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนากับตัวเองในการสอนนำข้อเสนอแนะที่ได้จากอาจารย์มาปรับกับตัวเองเพื่อนสอนในครั้งต่อไป

ประเมินตนเอง
  มาเรียนตรงเวลา  แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเหมาะสม เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำ สาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะนำการสอนที่ถูกต้องไปใช้สอน

ประเมินห้องเรียน
 ห้องเรียนกว้างสะอาด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  อากาศเหมาะสมกับการเรียน มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

วันที่ 6 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

ความรู้ที่ได้
กิจกรรมการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะ  (วันพุธ - ศุกร์) 
ตามหน่วยการเรียนรู้
1. หน่วย ยานพาหนะ
2. หน่วย ผักสดสะอาด
3. หน่วย ครอบครัวของฉัน
4. หน่วย สัตว์น่ารัก

5. หน่วย ข้าว



กิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL

              BBL (Brain-based Learning) คือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยมีที่มาจากศาสตร์การเรียนรู้ 2 สาขา คือ
- ความรู้ทางประสาทวิทยาสาท
- แนวคิด ทฤษฎีการเรียน

การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ BBL
1. จัดตกแต่งห้องเรียนให้มีสีเขียว เหลือง เป็นส่วนใหญ่
2. ห้องเรียนและบริเวณรอบๆ ห้องเรียนมีต้นไม้ร่มรื่น
3. จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมกัน กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4. จัดให้มีสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
5. จัดให้มีการเรียนรู้จากของจริง ประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาททั้ง 5 (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)



การนำไปใช้
สามารถนำความรู้เทคนิคการสอนที่ได้ไปพัฒนากับตัวเองในการสอนนำข้อเสนอแนะที่ได้จากอาจารย์มาปรับกับตัวเองเพื่อนสอนในครั้งต่อไปเพิ่มความมั่นใจเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและนำไปสอนจริงให้มีคุณภาพในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ประเมินตนเอง
  มาเรียนตรงเวลา มีน้ำใจไปช่วยอาจารย์ขนของ แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นเด็กนักเรียนให้เพื่อนสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบและเหมาะกับการทำกิจกรรม เพื่อนเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ในการมาสอนเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและทำกิจกรรมส่วนมากแต่งกายถูกระเบียบและมาเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา  เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำเทคนิคเพิ่มเติมในการสอนอยู่ตลอดเวลา

ประเมินห้องเรียน
 ห้องเรียนกว้างสะอาด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  อากาศเหมาะสมเหมาะกับการเรียน



วันที่ 4 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 ชดเชยการเรียน

สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ของแต่ละกลุ่ม

  • กลุ่ม สัตว์น่ารัก
  • กลุ่ม ยานพาหนะ
  • กลุ่ม ผักสดสะอาด
  • กลุ่ม ข้าว
  • กลุ่ม ครอบครัว





1. การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ 
คือ การเคลื่อนไหวที่ร่างกายไม่ต้องเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง ได้แก่ การก้มตัว การยืดเหยียดตัว การบิดตัว การหมุนตัว การโยกตัว การแกว่งหรือหมุนเวียน การโอเอน การดัน การสั่น และการตี

2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
มีพื้นฐานอยู่ 8 อย่าง คือ
การเดิน การวิ่ง การกระโดดเขย่ง การกระโจน กระโดดสลับเท้า การสไลด์ การควบม้า


การนำไปใช้
สามารถนำความรู้เทคนิคการสอนที่ได้ไปพัฒนากับตัวเองในการสอนเพื่อเพิ่มความมั่นใจเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและนำไปสอนจริงให้มีคุณภาพในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ประเมินตนเอง
 มีน้ำใจไปช่วยอาจารย์ขนของ มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นเด็กนักเรียนให้เพื่อนสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ในการมาสอนเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและทำกิจกรรมส่วนมากแต่งกายถูกระเบียบและมาเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำเทคนิคเพิ่มเติมในการสอนอยู่ตลอดเวลา

ประเมินห้องเรียน
 อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ ห้องเรียนสะอาด อากาศเหมาะสมเหมาะกับการเรียน


วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


เพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (วันจันทร์)





ยกตัวอย่างการสอนเสริมประสบการณ์





เราได้หัวข้อหน่วยมาจากไหน
1. สาระการเรียนรู้
2.ใกล้ตัวเด็ก มีผลกระทบกับเด็ก
3. สิ่งที่เด็กสนใจ

ทำไมถึงต้อง ทำมายแม็ป 
เพื่อให้รู้ว่ามีอะไรบ้างเป็นเนื้อหาที่เด็กจะได้เรียนรู้ ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ



การนำไปใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเขียนจำแนก แยกแยะคิดวิเคราะห์ เขียนแผนได้ง่ายและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างถูกต้องนำเทคนิคที่ได้จากการทดลองสอนไปใช้ได้จริงในอนาคต

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา มีน้ำใจไปช่วยอาจารย์ขนของ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
 เพื่อนมีงานมาส่งตามที่ได้รับมอบหมาย แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเป็นอย่างดีในการที่จะสาธิตการสอนให้นักศึกษาดู อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและมองเห็นภาพสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้จริง

ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ อากาศเหมาะสมเหมาะกับการเรียน



วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3



การนำหลักสูตรแกนกลางมาจัดเป็นหลักศูตรสถานศึกษา
หลักสูตรแกนกลางต้องมีพัฒนาการ

ร่างกาย >>>การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก
อารมณ์ >>> การแสดงและรับรู้ความรู้สึก
สังคม   >>>  การช่วยเหลือตัวเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่น
สติปัญญา >>>  ภาษา คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา


  • การบูรณาการเรียนรู้ ต้องผสมผสานให้เข้ากัน บูรณาการจะอยู่บนพื้นฐานการใช้ชีวิตประจำวัน


  • การประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก ต้องมีเกณฑ์ในการประเมิน
- สังเกต
- ผลงาน-สนทนา


  • ความสัมพัธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวเด็กต้องใช้
-สมุดพก- สารสัมพันธ์ผู้ปกครอง

สาระสำคัญ จะมีเนื้อหา และทักษะต่างๆ แบ่งเป็น 2 อย่าง1. ประสบการณ์สำคัญ (สิ่งที่เด็กปฏิบัติ)2. สาระที่ควรรู้ (เป็นเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่ ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก)

อาจารย์ให้ทำมายแม็ปก่อนลงมือเขียนแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ "หน่วยสัตว์น่ารัก"


การนำไปใช้

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องตามหลักสูตรของสถานศึกษา คิดวิเคราะห์แยกแยะ ก่อนจะลงมือเขียนแผน

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา ทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย แต่งกายถูกระเบียบ  จดบันทึกขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน

 ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ และตั้งใจทำงานกลุ่มพร้อมแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลา อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นโดยแบ่งกลุ่มให้เขียนมายแม็ปก่อนจะลงมือเขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ บรรยากาศเหมาะกับการเรียน


วันที่ 30 มกราคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


การจัดการชั้นเรียน
ที่นั่ง >>>> สะท้อนปรัชญา แนวการสอน

สถานการณ์
เมื่อต้องจัดแถวเด็กเป็นวงกลมกะทันหัน

เทคนิคที่ใช้
1. ให้เด็กยืนแถวตอนลึก
2. ใช้เพลงในการจัดแถว
( ยืนให้ตัวตรง    ก้มหัวลงปรบมือแผละ
   แขนซ้ายอยู่ไหน  หันหลังไปทางนั้นแหละ )   แล้วให้เด็กที่ยืนแถวกลางเดินไปจับมือเพื่อนที่อยู่ด้านข้าง

ประสบการณ์>>>เพื่อให้เด็กมีอิสระในการเลือกปฏิบัตินำไปสู่การปรับโครงสร้างของสมองเกิดเป็นความรู้ใหม่>>> การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด



การเสริมสร้างวินัย
เทคนิค
การใช้เพลง เก็บของ
เก็บ เก็บ เก็บ     มาช่วยกันเก็บของสิ
เร็วคนดี              มาเก็บเข้าที่เร็วไว


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ของเล่นเก็บให้เป็นระเบียบ      จะเรียบร้อยโดยฉับพลัน
พวกเราจะต้องช่วยกัน               ทุกวันเก็บของเล่นให้ดี
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

เพลงเข้าแถว

                เข้าแถว เข้าแถว     อย่าล่ำแนวยืนเรียงกัน
                อย่ามัวแชเชียน       ระวังเดินชนกัน เข้าแถวทันว่องไว

เพลงเก็บเด็ก

1. เอามือวางไว้ที่หัวช่างหน้ากลัวหน้ากลัวจริงๆ      
    เอามือวางไว้ที่ไหล่ช่างไฉไลไฉไลจริงๆ
    เอามือวางไว้ที่อกช่างตลกตลกจริงๆ                   
    เอามือวางไว้ที่ตักช่างน่ารักน่ารักจริงๆ

2. ตบมือแปะ แปะ      เลือกแพะเข้ามา
    แพะไม่มา               เอามือปิดปาก รูกซิป

3. นั่งตัวตรงๆ เอามือลงไว้ที่ตัก      เด็กๆที่น่ารัก
     ต้องรู้จักตั้งใจฟัง                       ต้องรู้จักตั้งใจดู   ต้องรู้จักฟัง                                                               คุณครู

4. ปิดหูซ้ายขาว ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง และนั่งสมาธิ

5. ปลาวาพ้นน้ำเป็นฝอย       ปลาเล็กปลาน้อยว่ายน้ำตามมา
    ปลาวาฬนับ 1 2 3 (ซ้ำ)     ใครว่ายตามมาปลาวาฬจับตัว

6. สวัสดีแบบไทยๆ       แล้วก็ไปแบบสากล
    สวัสดีทุกๆคน           แบบสากลและก็แบบไทย


เทคนิค

การใช้เพลง และใช้ท่าทางประกอบการสอนมีการสาธิตให้ดูเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย

การนำไปใช้

สามารถนำความรู้ เพลง เทคนิค ไปใช้ได้จริงในอนาคตเพื่อใช้ในการเก็บเด็กและสอนเด็กในเรื่องระเบียบวินัย

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา เตรียมเอกสารที่อาจารย์สั่งมาเป็นอย่างดี แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม จดบันทึกขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ มีส่วนน้อยที่แต่งกายไม่เหมือนเพื่อน 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลา ปล่อยตรงเวลา สอนสนุก มีการสาธิตให้ดูในการจัดแถวเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและคิดหาเทคนิคต่างๆมาใช้

ประเมินห้องเรียน


ห้องเรียนสะอาด มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ บรรยากาศเหมาะกับการเรียน